องค์การบริหารส่วนตำบลโนนกาเล็น อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี: www.nonkalen.go.th

 
 
สภาพทั่วไป

ขนาด / ที่ตั้ง / อาณาเขต

  องค์การบริหารส่วนตำบลโนนกาเล็น  ตั้งอยู่หมู่ที่  8  ตำบลโนนกาเล็น อยู่ทางทิศตะวันตก

เฉียงใต้  ของอำเภอสำโรง  อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอสำโรง  3  กิโลเมตร และอยู่ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานี ประมาณ  30  กิโลเมตร

 

          อาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

                   ทิศเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับ  ตำบลบอน ตำบลท่าลาด  และตำบลห้วยขะยุง 

อำเภอวารินชำราบ  จังหวัดอุบลราชธานี

                        ทิศใต้                 มีอาณาเขตติดต่อกับ  ตำบลโนนกลาง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี

                        ทิศตะวันออก      มีอาณาเขตติดต่อกับ  ตำบลสำโรง อำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี

                        ทิศตะวันตก        มีอาณาเขตติดต่อกับ  ตำบลบก อำเภอโนนคูณ และตำบลหนองหัวช้าง

                                                อำเภอกันทรารมย์  จังหวัดศรีสะเกษ


ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ

สภาพภูมิประเทศ  ตำบลโนนกาเล็นมีพื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นที่ดอนสลับกับที่ลุ่ม มีความลาดเทเล็กน้อย ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่มีความลาดเทมากกว่าทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ พื้นที่บางส่วนเป็นทำเลสาธารณะ มีดอนปลูกพืชไร่ และไม้ผลต่าง ๆ เพียงบางส่วนเท่านั้น พื้นที่ส่วนใหญ่จะใช้ประโยชน์ในการทำนาปี

อุณหภูมิ  ลักษณะทั่วไปของตำบลโนนกาเล็น อากาศจะร้อน แห้งแล้ง ส่วนฤดูหนาวอากาศจะหนาวในช่วงเดือน พฤศจิกายน กุมภาพันธ์  ฤดูร้อนอากาศจะร้อนแห้งแล้ง ช่วงเดือน มีนาคม เมษายน  อุณหภูมิสูงสุดประมาณ  41.8  องศาเซลเซียส และต่ำสุดประมาณ 7.6 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ย  10  ปี  (ปี 25372547) ประมาณ 1,497.9 มิลลิเมตร และฝนเริ่มตกประมาณเดือนพฤษภาคม ฝนทิ้งช่วงเดือนกรกฎาคม และฝนจะหยุดตก เดือนตุลาคม

แหล่งน้ำและปริมาณน้ำในรอบปี  ตำบลโนนกาเล็น มีระดับน้ำใต้ดิน เฉลี่ยประมาณ  4 8 เมตร ระดับน้ำบาดาล มีความลึกตั้งแต่ 625 เมตร คุณภาพน้ำเป็นน้ำกระด้าง มีสีเหลืองอ่อน บางแห่งจะเค็มไม่เหมาะที่จะนำมาบริโภค

 

ประชากร

             1.5.1  จำนวนครัวเรือน  1,918  ครัวเรือน

            1.5.2  จำนวนคนหรือสมาชิกรวม  7,774  คน

                                        แยกเป็นชาย  3,885  คน  หญิง  3,889  คน

            1.5.3  ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ  ทำนา

            1.5.4  ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนา  พุทธ จะเห็นได้จากทุกหมู่บ้าน จะมีวัดโดยมีศาสนาเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ มีการทำบุญตามเทศกาลต่าง ๆ ตามขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิม โดยแต่ละเดือนจะมีเทศกาลงานบุญแตกต่างกันออกไป จนครบทั้ง  12  เดือน

            1.5.5  ระดับการศึกษาของคนในตำบล (สูงสุด  3  อันดับแรก)

1.    จบชั้นประถมศึกษา ป. 4 -  6     58.09%

2.    มัธยมศึกษาตอนต้น ม. 1 – 3     16.30%

3.    มัธยมศึกษาตอนปลาย              10.83%

            1.5.6  รายได้เฉลี่ย                                    52,542.00          บาทต่อคนต่อปี

            1.5.7  รายรับจากบัญชีครัวเรือน                  94,145.00          บาทต่อคนต่อปี

            1.5.8  รายจ่ายจากบัญชีครัวเรือน                 38,480.65          บาทต่อคนต่อปี

            1.5.9  หนี้สินจากบัญชีครัวเรือน                     3,950.20          บาทต่อคนต่อปี

            1.5.10  เงินออมจากบัญชีครัวเรือน               7,480.50            บาทต่อคนต่อปี